การเรียนร่วมของเด็กพิเศษ

การเรียนร่วมของเด็กพิเศษ

วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การบันทึกประจำวัน

ประจำวันที่ 9/1/2557 คาบที่ 10
กิจกรรม
อาจารย์ให้นักศึกษาทดสอบ Gesell Drawing Test
วิธีการ
ให้เด็กดูแบบแล้ววาด (ควรขยายขนาดเพิ่มให้จากรูปที่แนบมา)โดยที่เราไม่ได้วาดให้ดูเด็กสามารถวาดซ้ำได้ในแต่ละรูปให้ผ่านถ้ารูปที่วาด สมบูรณ์ใกล้เคียงกับรูปต้นแบบ

ความสามารถด้านกล้ามเนื้อมือ และการประสานงานของตากับมือ เป็นทักษะที่บ่งชี้ถึงระดับสติปัญญาหรืออายุสมองได้แบบคร่าวๆ

ยกตัวอย่าง...หากเด็กของเราอายุจริง 8 ปี แต่สามารถวาดรูปได้ถึงรูปที่ 7 โดยที่รูปที่ 8 เป็นต้นไปวาดไม่ได้หรือไม่สมบูรณ์ แสดงว่าอายุสมองของเด็กอยู่ที่ระดับ 7 ปี เป็นต้น

หมายเหตุ..
การทดสอบนี้เป็นวิธีคัดกรองแบบหยาบๆเท่านั้น ไม่ได้บอกระดับ IQ ที่แท้จริง
ถ้าเด็กทำไม่ได้ก็ไม่ต้องตกใจ

แต่ลองฝึกฝนเด็กเรื่องกล้ามเนื้อมือให้มากขึ้น
หรือถ้าเด็กมีปัญหาการเรียนหรือพัฒนาการร่วมด้วย ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ


แนวทางในการดูแลรักษา
-หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่อง
-การตรวจหาความผิดปกติร่วม
-การรักษาสาเหตุโดยตรง
-การส่งเสริมพัฒนาการ
-ให้คำปรึกษากับครอบครัว
** ขั้นตอนในการดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษ **
1.การตรวจคัดกรองพัฒนาการ
2.การตรวจประเมินพัฒนาการ
3.การให้การวินิจฉัยและหาสาเหตุ
4.การให้การรักษาและส่งเสริมพัฒนาการ
5.การติดตามและประเมินผลการรักษาเป็นระยะ



การบันทึกประจำวัน

ประจำวันที่ 2/1/2557 คาบที่ 9
กิจกรรม

งดการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันหยุดชดเชยวันปีใหม่



ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่ 

          ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน
          การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก
          การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์
          ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป
          เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ
          1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
          2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
          3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
          4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย

          กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่
          1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
          2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
          3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ

          วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น


การทำบุญในวันขึ้นปีใหม่ 
          เมื่อใกล้ถึงเทศกาลปีใหม่ ประชาชนจะพากันเก็บกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับไฟและธงชาติตามสถานที่สำคัญ ๆ
          ครั้นถึงวันที่ 31 ธันวาคม ก็จะมีการทำบุญเลี้ยงพระ ไปวัด เพื่อประกอบกิจกุศลต่าง ๆ เช่น ฟังพระธรรมเทศนา ถือศีลปฏิบัติธรรม แต่บางคนก็แค่ทำบุญตักบาตร   ตอนกลางคืนบางแห่งอาจจัดเทศกาลกินเลี้ยงเป็นที่ครื้นเครงสนุกสนาน  เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
          เช้าวันที่ 1 มกราคม จะมีการทำบุญตักบาตร ไปท่องเที่ยวหรือเยี่ยมเยียนญาติผู้ใหญ่ผู้ที่เคารพนับถือ มีการมอบของขวัญและบัตรอวยพรให้แก่กัน
          สำหรับในต่างจังหวัด จะมีการทำบุญเลี้ยงพระที่วัด และอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ญาติที่ล่วงลับ กลางคืนมีการละเล่นพื้นบ้านหรือจัดมหรสพมาฉลอง

คติข้อคิดในวันขึ้นปีใหม่ 
          เมื่อวันเวลาผันเปลี่ยนเวียนไปครบ 1 ปี เราได้อยู่รอดปลอดภัยมาจนถึงวันขึ้นปีใหม่ ขอให้ลองมองย้อนหลังกลับไปคิดดูว่า วันเวลาที่ผ่านมานั้นเราได้ใช้มันอย่างคุ้มค่าหรือเปล่า และได้กระทำคุณงามความดีอันใดไว้บ้าง และควรหาโอกาสกระทำให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นทุกปี ในขณะเดียวกันเราได้กระทำความผิดหรือสิ่งใดที่ไม่ถูกต้องไว้หรือไม่ หากมีต้องรีบปรับปรุงแก้ไขตัวเอง

กิจกรรมที่ควรปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ 
          1. เก็บกวาดดูแลทำความสะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน
          2. ทำบุญตักบาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติและผู้มีพระคุณที่ล่วงลับไปแล้ว
          3. ไปวัดเพื่อทำบุญ ถือศีล ปฏิบัติธรรม หรือฟังพระธรรมเทศนา ฯลฯ เพื่อให้จิตใจสดชื่นแจ่มใสเบิกบาน ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่
          4. ตรวจสอบตัวเอง เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ที่ได้ทำมาตลอดปี ว่ามีความเจริญก้าวหน้าสำเร็จลุล่วงไปได้แค่ไหน หากมีคั่งค้างก็ต้องเร่งขวนขวายปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของตน ถ้าอยู่ในเกณฑ์ดีก็ให้ตั้งใจทำให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป
          5. หากมีเรื่องบาดหมางหรือขุ่นเคืองกับผู้ใด ในวันนี้ควรถือโอกาสให้อภัยซึ่งกันและกัน เริ่มสานความสัมพันธ์ให้กลับมาเริ่มต้นใหม่ด้วยดี

หลากหลายความเชื่อวันปีใหม่ 
          ในทุกเทศกาลปีใหม่ที่เวียนมาถึงประชาชนหลากหลายเชื้าติต่างมีความเชื่อแตกต่างกันไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆในวันสำคัญวันนี้
          ชาวโรมันและชาวเยอรมันโบราณ ถือว่าวันขึ้นปีใหม่เป็นเวลาที่พวกเขาได้สลัดปีเก่าทิ้งไปแล้วรับเอาแต่สิ่งดีๆ ที่จะบังเกิดขึ้นในวันปีใหม่ไว้แทนที่ ส่วนชาวอิหร่าน มีความเชื่อว่าวันปีใหม่เป็นเวลาแห่งหารเกิดของสรรพสิ่งทั้งหลาย เป็นสมัยแห่งการฉลองชัยของสุริยเทพ ธรรมชาติ รวมไปถึงมวลมนุษยชาติ
          ชาวซูลู (ในทวีปแอฟริกา) ต่างก็มีประเพณีเกี่ยวกับวันปีใหม่นี้เช่นกัน ซึ่งเมื่อถึงวันนี้พวกเขาจะกินผลไม้ที่ออกผลเป็นครั้งแรก และพวกผู้ชายจะกลืนกินเนื้อวัวสดๆ ซึ่งเป็นเครื่องแสดงถึงความแข็งแรงและอุดมสมบูรณ์ในระหว่างปีที่จะมาถึง ขณะที่ชาวอังกฤษโบราณ เมื่อวันนี้มาถึงต่างก็พร้อมใจกันทำความสะอาดปล่องไฟเตรียมไว้ต้อนรับโชคลาภที่จะมาถึงในวันปีใหม่ โดยมีความเชื่อว่าจะลงมาทางปล่องไฟและจะคงอยู่ที่นั่นตลอดปี
          นอกจากนั้น ชาวญี่ปุ่นและชาวอินเดียนแดง ยังมีความเชื่อคล้ายๆกันอีกว่า จะเอาเสื้อผ้าเก่าๆไปทิ้งและจะสวมเสื้อผ้าชุดใหม่ อีกทั้งทำความสะอาดบ้านเรือน เพื่อเป็นสิริมงคล ส่วนชาวลาตินอเมริกาจะไม่นิยมให้นาฬิกาเป็นของขวัญ เพราะหลีกเลี่ยงของขวัญที่เกี่ยวพันกับเลข 13 เป็นต้น
          สำหรับวันปีใหม่ของไทย มีความเชื่อมากมายและไม่ว่าจะเป็นการคิดถึงสิ่งดีๆ ทำสิ่งดีๆห้ามให้ของมีคมแก่กัน เพราะเชื่อว่าอาจเป็นลางร้ายก่อให้เกิดเรื่องไม่ดีขึ้นได้ หรือแม้แต่ห้ามพูดจาหยาบคาย หรือด่าทอกันในวันนี้



การบันทึกประจำวัน

ประจำวันที่ 26/12/2556 คาบที่ 8
กิจกรรม

งดการเรียนการสอนเนื่องจากมีการแข่งขันกีฬาสีเทาเหลือง

การบันทึกประจำวัน

ประจำวันที่ 19/12/2556 คาบที่ 7
กิจกรรม

งดการเรียนการสอนเนื่องจากมีการสอบกลางภาค

การบันทึกประจำวัน

ประจำวันที่ 12/12/2556 คาบที่ 6
กิจกรรม
พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
พัฒนาการ
: การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล
: ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
-เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
-พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้านหรือทุกด้าน
-พัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าไปด้วย
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
-ปัจจัยทางด้านชีวภาพ
-สภาพแวดล้อมก่อนคลอด
-กระบวนการคลอด
-สภาพแวดล้อมหลังคลอด
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1.โรคทางพันธุกรรม
เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิดหรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิดมักมีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย
2.โรคของระบบประสาท
-เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีพัฒนาการหรืออาการแสดงทางระบบประสาทร่วมด้วย
-ที่พบบ่อยคือ อาการชัก
3.การติดเชื้อ
-การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศรีษะเล็กกว่าปกติ อาจมีตับม้ามโต การได้ยินบกพร่อง ต้อกระจก
-นอกจากนี้การติดเชื้อรุนแรงภายหลังเกิด เช่น สมองอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ
4.ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
โรคที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขไทย คือ ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ
5.ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
การเกิดก่อนคลอด น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย และภาวะขาดออกซิิเจน
6.สารเคมี
    6.1 ตะกั่ว
-ตะกั่วเป็นสารที่มีผลกระทบต่อเด็กและมีการศึกษามากที่สุด
-มีอาการซึมเศร้า เคลื่อนไหวช้า ผิวหมองคล้ำเป็นจุดๆ
-ภาวะตับเป็นพิษ
-ระดับสติปัญญาต่ำ
    6.2 แอลกอฮอล์ 
-น้ำหนักแรกเกิดน้อย
-มีอัตรการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย ศรีษะเล็ก
-พัฒนาการทางสติปัญญาก็มีความบกพร่อง
-เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
Fetal Alcohol Syndrome (FAS)
จะมีลักษณะ
-ช่องตาสั้น
-ริมฝีปากบนยาวและบาง
-จมูกแบน
-ริมฝีปากมนเรียบ
-หนังคลุมหัวตามาก
-ปลายจมูกเชิดขึ้น
     6.3 นิโคติน
-น้ำหนักแรกเกิดน้อย ขาดสารอาหาร ในระยะตั้งครรภ์
-เพิ่มอัตราการตายในวัยทารก
-สติปัญญาบกพร่อง
-สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว มีปัญหาทางการเข้าสังคม
7.การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร
อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
-มีพัฒนาการล่าช้า ซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน
-ปฏิกิริยาสะท้อน ( primitive reflex ) ไม่หายไป แม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป
แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1.การซักประวัติ
โรคประจำตัว โรคทางพันธุกรรม
การเจ็บป่วยในครอบครัว
ประวัติการฝากครรภ์
ประวัติเกี่ยวกับการคลอด
พัฒนาการที่ผ่านมา
การเล่นตามวัย การช่วยเหลือตนเอง
ปัญหาพฤติกรรม
ประวัติอื่นๆ
เมื่อซักประวัติแล้วจะสามารถบอกได้ว่า
-ลักษระพัฒนาการล่าช้าเป็นแบบคงที่ หรือถดถอย
-เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าหรือไม่ อย่างไร อยู่ในระดับไหน
-มีข้อบ่งชี้ มีสาเหตุจากโรคทางพันธุกรรมหรือไม่
2.การตรวจร่างกาย
ตรวจร่างกายทั่วๆไปและการเจริญเติบโต
ภาวะตับม้ามโต
ผิวหนัง
ระบบประสาทและวัดรอบศรีษะด้วยเสมอ
ดูลักษณะของเด็กที่ถูกทารุณกรรม
ระบบการมองเห็นและการได้ยิน
3.การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
4.การประเมินพัฒนาการ
การประเมินแบบไม่เป็นทางการ
การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ
แบบทดสอบ Denver ll
Gesell Drawing Test
แบบประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด-5 ปี สถาบันราชานุกูล
สรุปเป็นmine map ได้ดังนี้


การบันทึกประจำวัน

ประจำวันที่ 5/12/2556 คาบที่ 5 
กิจกรรม
งดการเรียนการสอนเนื่องจากตรงกับวันพ่อแห่งชาติ

วันพ่อแห่งชาติ 2556

วันพ่อแห่งชาติ
วันพ่อแห่งชาติ 2556

กำหนดการวันพ่อ 2556

สำนักพระราชวัง ออกหมายกำหนดการพระราชพิธี 5 ธันวาคม 2556

      (4 ธ.ค.) สำนักพระราชวัง ออกหมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2556 ซึ่งจะมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 5-6 ธันวาคม และวันที่ 8 ธันวาคม 2556 ระบุว่า

     ในวันที่ 5 ธันวาคม เวลา 10.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จออกท้องพระโรง ศาลาราชประชาสมาคม วังไกลกังวล จ.ประจวบคีรีขันธ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประทับเหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ภายในนพปฎลมหาเศวตฉัตร สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการเฝ้าฯ ครั้นสุดเสียงประโคมแล้ว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา กราบบังคมทูลพระกรุณาถวายพระพรชัยมงคลตามลำดับ ผู้บัญชาการ ทหารสูงสุด กราบบังคมทูลพระกรุณากล่าวนำทหารรักษาพระองค์ ถวายคำสัตย์ปฏิญาณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสตอบผู้เฝ้าฯ ในมหาสมาคมทั้งหมดถวายความเคารพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินกลับ

     จากนั้น เวลา 17.00 น. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยในการพิธีทรงตั้งสมณศักดิ์ และเจริญพระพุทธมนต์ อนึ่ง ในวันนี้ ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น. สำนักพระราชวังได้จัดที่สำหรับลงพระนาม ลงนามถวายพระพรไว้ในพระบรมมหาราชวัง ที่วังไกลกังวล จ.ประจวบคีรีขันธ์

     สำหรับวันที่ 6 ธันวาคม 2556 เวลา 10.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในพระบรมมหาราชวังในการพิธีเลี้ยงพระ และวันที่ 8 ธันวาคม 2556 เวลา 17.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ เสด็จออก ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา คณะทูตต่างประเทศและผู้แทนฝ่ายกงสุล เฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล ในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
วันพ่อแห่งชาติ

วันพ่อแห่งชาติ

     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกมหาสมาคม ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ครบรอบ 85 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2555 

     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกมหาสมาคม ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม พสกนิกรทุกหมู่เหล่าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ชื่นชมพระบารมีและแสดงความจงรักภักดีเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา


09.55 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเสด็จพระราชดำเนินออกจากโรงพยาบาลศิริราช พร้อมพระบรมวงศานุวงศ์ ประชาชนรอรับเสด็จเนืองแน่น เปล่งเสียง "ทรงพระเจริญ" ตลอดเส้นทางพระราชดำเนิน

10.25 น. รถยนต์พระที่นั่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พร้อมพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินถึงพระที่นั่งอนันตสมาคม

10.29 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พร้อมพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จเข้า สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม

10.37 น. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมารฯ เสด็จเฝ้าละอองธุลีพระบาท บริเวณหน้าสีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม

10.42 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จออกมหาสมาคม ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม

10.44 น. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมารฯ กล่าวถวายพระพรชัยมงคล ในนามบรมวงศานุวงศ์ บริเวณหน้าสีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม
วันพ่อแห่งชาติ

10.49 น. นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถวายพระพรชัยมงคล ในนามข้าราชการ รัฐมนตรีและประชาชน บริเวณหน้าสีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม

10.52 น. นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา กล่าวถวายพระพรชัยมงคล ในนามสมาชิกรัฐสภาและสมาชิกผู้แทนราษฎร บริเวณหน้าสีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม

10.56 น. นายไพโรจน์ วายุภาพ ประธานศาลฎีกา กล่าวถวายพระพรชัยมงคล ในนามราชข้าการฝ่ายตุลาการ บริเวณหน้าสีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม

10.59 น. พลอากาศเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พร้อมทั้งทหารทุกหน่วยเหล่า ถวายสัตย์ปฏิญาณตน ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

11.04 น.
 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชดำรัสตอบ ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม


วันพ่อแห่งชาติ

11.09 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จออกมหาสมาคม ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม ประชาชนเปล่งเสียง "ทรงพระเจริญ" ดังกึ่งก้อง

11.24 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเสด็จพระราชดำเนินกลับที่ประทับ โรงพยาบาลศิริราช

วันพ่อแห่งชาติ 2556 ประวัติความเป็นมาความสำคัญของวันพ่อ 

    พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หน้า 587) พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายคำว่า “พ่อ” ไว้ดังนี้
     พ่อ หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกชายผู้ให้กำเนิดตน
     ในทางพุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า “พ่อ” หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูกมีใช้หลายคำ เช่น
         
     - บิดา (พ่อ)
     - ชนก (ผู้ให้กำเนิด)
     - สามี (ผัวของแม่) เป็นต้น
     วันพ่อแห่งชาติ  5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการหนึ่งวัน เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและถือเป็นวันพ่อแห่งชาติ อีกวันหนึ่งด้วย
      วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือวันพ่อแห่งชาติ มีความเป็นมาของวันสำคัญ คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาล เมาท์ ออเบิร์น นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์วิทท์มอร์เป็นผู้ถวายการประสูติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 9 แห่งบรมจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจและเจริญพระราชจริยาวัตรเป็นเอนกประการจำเนียรกาลผ่านมาถึงปัจจุบันที่สุดจะพรรณนาให้ครบถ้วนได้ท่ามกลางมหาสมาคมวันพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกทรงมีกระแสพระราชดำรัสที่ พสกนิกรทุกคนยังจดจำได้ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม” อันคำว่าโดย “ธรรม” นั้น ทรงหมายถึง ธรรมอันล้ำเลิศที่เรียกว่า “ทศพิธราชธรรม” หรือที่เรียกกันโดยสามัญว่า “ราชธรรม 10 ประการ”
วันพ่อแห่งชาติ 2554 
พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง 
     ราชธรรม 10 ประการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดมั่นทรงปฎิบัติโดยเคร่งครัด และส่งผลถึงพสกนิกรทั่วพระราชอาณาจักรนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเหนือเกล้าฯ ห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งพระเจ้าหลานเธอทุกพระองค์ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น “พ่อ” ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้
     “...บ้านเมืองของเราเป็นปึกแผ่นร่มเย็นปกติสุขมาช้านาน เพราะเรามีความยึดมั่นในชาติและต่างร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันทำหน้าที่โดยนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมของชาติเป็นเป้าหมายสำคัญสูงสุด ท่านทั้งหลายในสมาคมนี้ ตลอดจนคนไทยทุกหมู่เหล่า จึงควรทำความเข้าใจในหน้าที่ของตนไว้ให้กระจ่างและนำไปปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ด้วยความไม่ประมาท และด้วยความมีสติ…”
      (พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ณ พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง) 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพุทธศาสนิกชนที่มีพระราช<a href=http://www.dmc.tv/search/ศรัทธา title='ศรัทธา' target=_blank><font color=#333333>ศรัทธา</font></a>ใน<a href=http://www.dmc.tv/search/พระพุทธศาสนา title='พระพุทธศาสนา' target=_blank><font color=#333333>พระพุทธศาสนา</font></a>เป็นที่ยิ่ง 
พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงได้รับสมญานามจากพระราชอุปัชฌาจารย์ ว่า “ภูมิพโล”  
        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพุทธศาสนิกชนที่มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นที่ยิ่ง เมื่อพุทธศักราช 2499 มีพระราชประสงค์ที่จะทรงพระผนวชในพระบวรพุทธศาสนาตามโบราณราชประเพณี นายกรัฐมนตรีได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอรับพระราชภาระสนองพระเดชพระคุณในการทรงพระผนวชในนามของรัฐบาลและประชาชนชาวไทยและได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้แต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร

     ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงพระผนวชในพระบวรพุทธศาสนา 15 วัน ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499

กิจกรรมที่ควรปฎิบัติในวันพ่อแห่งชาตินี้

      1. ในวันพ่อแห่งชาติเราควรประดับธงชาติไทยที่อาคารบ้านเรือน

      2. จัดพิธีศาสนสงฆ์ ทำบุญใส่บาตร อุทิศเป็นพระราชกุศล น้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล

     3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล

ความเป็นมาของวันพ่อแห่งชาติ  

      วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่มหลักการและเหตุผลในการจัดตั้งวันพ่อแห่งชาติ พ่อเป็นผู้มีพระคุณที่มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น “วันพ่อแห่งชาติ” ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงรักใคร่และให้ดอกพุทธรักษาเป็นสัญลักษณ์ วันพ่อแห่งชาติ

ทุกบุปผา มาลัยคือใจราษฎร์ ภักดีบาทองค์บพิตรเป็นนิจสิน
พระ คือ บิดาข้าแผ่นดิน ร่วมร้อยรินมาลัยถวายพระพร
ลุ 5 ธันวามหาราช “วันพ่อแห่งชาติ” คือองค์อดิศร
พระเปี่ยมล้นด้วยเมตตาเอื้ออาทร พสกนิกรเป็นสุขทุกคืนวัน 
    
ด้วยพ่อเป็นบุคคลผู้มีพระคุณ มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพ เทิดทูน และตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อนี่เป็นที่มาของการจัดให้มี วันพ่อแห่งชาติ
วันพ่อแห่งชาติตรงกับวันเฉลิมพระชนพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
วันพ่อแห่งชาติหรือวันเฉลิมพระชนพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

5 ธันวาวันพ่อแห่งชาติ  

      5 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและยังเป็นวันพ่อแห่งชาติ เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะพ่อแห่งชาติ อีกทั้งทรงเป็นพ่อตัวอย่างของปวงชนชาวไทย ที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงบำเพ็ญคุณานุประโยชน์แก่ประเทศชาติ และประชาชน ทรงพระมหากรุณาทะนุบำรุงขจัดทุกข์ผดุงสุขพสกนิกรถ้วนหน้า พระองค์ทรงเป็น พ่อแห่งชาติที่อาณาประชาราษฎร์เทิดทูนด้วยความจงรักภักดี สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และยึดมั่นในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในการทะนุบำรุงชาติบ้านเมืองให้ วัฒนาถาวรสืบไป ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของวันพ่อแห่งชาติ 4 ประการ คือ


1.       เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

2.       เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม
3.       เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อ
4.       เพื่อให้ผู้เป็นพ่อ สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน  
วันพ่อแห่งชาติ ในประเทศไทยตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี
วันพ่อแห่งชาติ ในประเทศไทยตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี
ดอกไม้ประจำวันพ่อแห่งชาติ
     วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันพ่อแห่งชาติ กำหนดขึ้นครั้งแรก ในปี 2523 และ กำหนดให้ ดอกพุทธรักษาสีเหลือง เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำวันพ่อแห่งชาติ
วันพ่อแห่งชาติมีดอกพุทธรักษาเป็นสัญลักษณ์ประจำ
ดอกพุทธรักษาสีเหลือง เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำวันพ่อแห่งชาติ
     “พุทธรักษา” ซึ่งหมายถึง พระพุทธเจ้าทรงปกป้องคุ้มครอง ให้มีแต่ความสงบสุขร่มเย็น ซึ่งมีเรียกกันมากว่า 200 ปี และสีเหลืองอันเป็นสีประจำวัน พระราชสมภพขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของปวงชนชาวไทย การมอบดอกพุทธรักษาให้กับพ่อ จึงเสมือนกับการบอกถึง ความรักและเคารพบูชาพ่อ ผู้สร้างความสงบสุขร่มเย็นให้แก่ครอบครัว
     คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นพุทธรักษาไว้ประจำบ้านจะช่วยปกป้องคุ้มครอง ไม่ให้มีเหตุร้ายหรืออันตรายเกิดแก่บ้านและผู้อาศัย เ
บทบาทของพ่อ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรุปบทบาทหน้าที่ของพ่อและแม่ไว้ 5 ข้อ

1.       กันลูกออกจากความชั่ว
2.       ปลูกฝังลูกไว้ในทางที่ดี
3.       ให้ลูกได้รับการศึกษาเล่าเรียน
4.       ให้ลูกได้แต่งงานกับคนดี

5.       มอบทรัพย์มรดกให้เมื่อถึงการณ์อันควร
วันพ่อแห่งชาติของแต่ละประเทศจะแตกต่างกันออกไป

วันพ่อแห่งชาตินั้นทั่วโลกจะมีการจัดแตกต่างกันไป โดยในประเทศไทยจัดตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี
     ในส่วนของพ่อเองก็ต้องตั้งใจฝึกตนเองให้ดี ให้เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกให้ได้  หาเวลามาทำกิจกรรมร่วมกัน จะได้มีเวลาแนะนำอบรมสั่งสอนกันเพื่อครอบครัวจะได้ เป็นครอบครัวอบอุ่น โดยในวันพ่อที่จะถึงนี้ ก็ขออวยพรให้คุณพ่อทุกท่านมีความสุข ดูแลลูกๆ และอยู่กับลูกๆ ไปตราบนานเท่านาน

คลิปเพลงที่เกี่ยวกับวันพ่อแห่งชาติ



เพลงรักพ่อทุกวัน

กลอนวันพ่อ

อยากให้พ่อ มาเห็น ความเป็นอยู่
จากการสู้ งานหนัก สร้างหลักฐาน
สร้างสรรค์ลูก ปลูกฝัง มาตั้งนาน
ลูกมีบ้าน งานทำ ไม่ลำเค็ญ

หยาดเหงื่อพ่อ พร้อมแม่ แต่ละหยาด
คือประกาศ ความดี มีให้เห็น
พระคุณพ่อ เพียงพรหม พาร่มเย็น
ผ่านทุกข์เข็ญ กว่าใคร ในโลกา

เพียงเพื่อลูก ได้มี ชีวิตรอด
พ่อทนกอด อดกลั้น ทุกปัญหา
เพียงลูกรัก จักเกิด เลิศปัญญา
พ่ออุตส่าห์ หาเงิน เกินกำลัง

พ่อทำได้ ทุกอย่าง เพื่อสร้างลูก
พ่อพันผูก ปลูกจิต ให้คิดหวัง
พ่อสอนอย่า เย่อหยิ่ง เขาชิงชัง
พ่อเติมพลัง ให้สู้ เป็นผู้คน

คำพ่อสอน ทุกอย่าง สร้างชีวิต
ให้มีสิทธิ์ โบยบิน ทุกถิ่นหน
ดั่งนกน้อย คล้อยชม ล่องลมบน
นั่นคือผล งานพ่อ ไม่ท้อทำ

อยากให้พ่อ มาเห็น ความเป็นอยู่
เพื่อได้รู้ ผลงาน นานฉนำ
ไม่มีพ่อ ยลยิน เพราะสิ้นกรรม
ซาบซึ้งคำ พ่อสั่ง หลั่งน้ำตา
รักพ่อทุกวัน
พ่อผู้ให้ กำเนิด เกิดชีวิต พ่ออุทิศ สั่งสอนลูก ผูกนิสัย พ่อชี้นำ แนวทาง ไม่ห่าง ไกล

กลอนวันพ่อ 

เป็นสองมือ อุ้มชู เลี้ยงดูลูก....เป็นสายใย พันผูก คอยห่วงหา
เป็นอ้อมกอด อบอุ่น ค้ำจุนมา....เป็นสายตา ห่วงใย ใคร่อาทร

ยามเจ็บไข้ เฝ้าดูแล ด้วยชีวิต ....ยามพลั้งผิด ท่านอบรม คอยบ่มสอน
ยามเหนื่อยหน่ายกำลังใจไม่สั่นคลอน....ยามใดใด ยังอาทร ไม่เปลี่ยนแปร

ด้วยความรัก ของพ่อ ที่ยิ่งใหญ่ .....ด้วยหัวใจ สะอาดใส เป็นแน่แท้
ด้วยชีวิต เพื่อลูก .. เฝ้าดูแล ....ด้วยสองมือ ไม่ผันแปร เป็นอื่นใด
    ชายคนหนึ่ง ทำทุกอย่าง ไม่เคยบ่น    ทั้งตากแดด ตากฝน ยอมทนหนาว
    เพื่อความหวัง ที่สดใส สุขสกาว      ให้ลูกชาย ลูกสาว ได้เล่าเรียน
    แม้ต้องแลก กับหยาดเหงื่อ สักกี่หยด        แม้ต้องควัก สตางค์หมด จนเป็นหนี้
    ไม่เคยท้อ หวังแค่ลูก ได้จบตรี แต่ลูกสิ กับชั่ว จนลืมตน
    ได้แต่ขอ เงินท่าน ไม่เคยขาด      เอาไปใช้ เรื่องอุบาท จนหมดสิ้น
    ไม่เคยคิด ไม่เคยนึก ได้แต่ชิน     ชินกับการ ฟุ่มเฟือย จนเลื่อยมา
    แล้วสุดท้าย ความเจ็บปวด มันหวนกลับ      คนที่รับ นั้นคือพ่อ ใข่ไหมหนา
    ต้องมานั่ง ร้องไห้ เสียน้ำตา     พ่อเร่งหา ลูกล้างผลาญ หมั่นทำลาย
    จนวันหนึ่ง คิดได้ ในที่สุด     แต่เวลา กับหยุด ฝันสลาย

    ท่านไม่ได้ อยู่กับเรา ไปจนตาย    กว่าคิดได้ มันคงสาย ไม่หวนคืน

การบันทึกประจำวัน

ประจำวันที่ 28/11/2556 คาบที่ 4
กิจกรรม
6.เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
( Children with Behavioral and emotional Disorders )
-เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆไม่ได้
-เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
-ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย
แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
    1.เด็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์
    2.เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้
เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้มักมีพฤติกรรมที่เห็นได้ชัดคือ
-วิตกกังวล
-หนีสังคม
-ก้าวร้าว
การจะจัดว่าเด็กมีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ ดังนี้
-สภาพแวดล้อม
-ความคิดเห็นของแต่ละคน
ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็ก
-ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเดียวกับเด็กปกติ
-รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือครูไม่ได้
-มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน
-มีความคับข้องใจ และมีความเก็บกดอารมณ์
-แสดงออกทางร่างกาย เช่น ปวดศรีษะ ปวดตามส่วนต่างๆของร่างกาย
-มีความหวาดกลัว
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
1.เด็กสมาธิสั้น
( Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders )
2.เด็กออทิสติก
( Autistic หรือ ออทิสซึ่ม Autisum)
เด็กสมาธิสั้น ( ADHD )
-เด็กที่ซนอยู่ไม่นิ่ง ซนมากผิดปกติ เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
-เด็กบางคนมีปัญหาเรื่องสมาธิบกพร่อง อาการหุนหันพลันแล่น ขาดความยับยั้งชั่งใจ เด็กเหล่านี้ทางการแพทย์เรียกว่า Attention Deficit  Disorders ( ADD )
ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
-อุจจาระปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน
-ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้วัยทารก
-ดูดนิ้ว กัดเล็บ
-หงอยเหงา เศร้าซึม การหนีสังคม
-เรียกร้องความสนใจ
-อารมณ์อ่อนไหวง่ายต่อสิ่งเร้า
-ขี้อิจฉาริษยา ก้าวร้าว
-ฝันกลางวัน
-พูดเพ้อเจ้อ
สรุปเป็นmine map ได้ดังนี้

7.เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
( Children with Learning Disabilities)
-สติปัญญาเท่ากับเด็กปกติ
-เรียกย่อๆว่า L.D ( Learning Disability)
-เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนเฉพาะบางอย่าง
-เด็กที่มีปัญหาทางการใช้ภาษา หรือการพูด การเขียน
-ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย
ลักษณะของเด็ก L.D
-มีปัญหาในทักษะคณิตศาสตร์
-ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้
-เล่าเรื่อง/ลำดับเหตุการณ์ไม่ได้
-มีปัญหาด้านการอ่าน เขียน
-ชุ่มช่าม
-รับลูกบอลไม่ได้
-ติดกระดุมไม่ได้
-เอาแต่ใจตนเอง
สรุปเป็นmine map ได้ดังนี้

8.เด็กออทิสติก  ( Autistic )
-หรือเรียกอีกอย่างว่า ออทิสซึ่ม Autism
-เด็กที่มีความบกพร่องอย่างรุนแรงในการสื่อความหมายพฤติกรรม สังคม และความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้
-เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง
-ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
ทักษะทางภาษา
ทักษะทางสังคม
ทักษะการเคลื่อนไหว
ทักษะการรู้เกี่ยวกับรูปทรง ขนาดและพื้นที่
ลักษณะ Autistic
-อยู่ในโลกของตนเอง
-ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
-ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
-ไม่ยอมพูด
-เคลื่อนไหวแบบซ้ำ
-ยึดติดวัตถุ
-ต่อต้าน หรือแสดงกิริยาอารมณ์รุนแรง และไร้เหตุผล
-มีทีท่าเหมือนคนหูหนวก
-ใช้วิธีการสัมผัส และเรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยวิธีการที่แตกต่างจากคนทั่วไป
สรุปเป็นmine map ได้ดังนี้



9.เด็กพิการซ้อน
( Children with Multiple Hancicaps )
-ที่มีความบกพร่องมากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนอย่างมาก
-เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
-เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
-เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด