การเรียนร่วมของเด็กพิเศษ

การเรียนร่วมของเด็กพิเศษ

วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

การบันทึกประจำวัน

ประจำวันที่ 13/2/2557 คาบที่ 15
กิจกรรม
ภาวะการเรียนบกพร่อง (Learning Disorders – LD)
การช่วยเหลือเด็กที่เป็นแอลดี (LD)
สิ่งสำคัญในการช่วยเหลือเด็กมีสามประการคือ
    การแก้ไขความบกพร่องในกระบวนการเรียนรู้
    การแก้ไขปัญหาทางอารมณ์
    ส่งเสริมจุดแข็งหรือความสามารถอื่นๆของเด็ก
วิธีการช่วยเหลือเด็ก LD
     สอนเสริม ควรจัดให้เด็กเรียนในชั้นเล็กๆ หรือมีห้องพิเศษที่จัดไว้สอนเด็กที่มีปัญหาคล้ายๆกัน หรือให้มีการเรียนตัวต่อตัว ที่เรียกว่า resource room  
     สอนไปตามขั้นตอนเท่าที่เด็กรับได้ ไม่ควรเร่ง และจะต้องให้เหมาะกับเด็กเป็นรายๆไป เขียนแผนการเรียนรายบุคคล (Individualized Educational Plan-IEP)
     สอนซ้ำๆจนเด็กสามารถก้าวหน้าทีละขั้น เน้นไปในสิ่งที่เด็กทำได้ ให้กำลังใจและชมเชยเมื่อเด็กก้าวหน้าขึ้น
     สอนเด็กในช่องทาง (channel) ที่เด็กรับได้ เช่น หากเด็กมีปัญหาในด้านการรับเสียงแต่การรับภาพปกติ ก็สอนโดยใช้ภาพ เช่น ให้ดูรูปมากขึ้น หากเด็กมีปัญหาในการรับภาพ ก็สอนโดยใช้เสียงมากขึ้น เช่น เด็กที่อ่านหนังสือไม่ได้ พ่อแม่ก็อ่านหนังสือให้ฟัง เป็นต้น
     ใช้วิธีเรียนรู้หลายรูปแบบ (multimodal technique) ตามช่องทางที่เด็กเรียนรู้ได้ เช่น เด็กที่อ่านไม่คล่อง พ่อแม่อาจอ่านหนังสือแล้วอัดเทปไว้ให้เด็กมาเปิดฟัง ถ้าเด็กอ่านข้อสอบไม่ได้ อาจต้องขอให้คุณครูอ่านข้อสอบให้เด็กฟังเป็นพิเศษ
     ใช้เครื่องมือต่างๆเข้ามาช่วยเด็ก เช่น เด็กที่มีปัญหาการเขียนอาจใช้เครื่องพิมพ์ดีดหรือเครื่องคอมพิวเตอร์มาช่วย เด็กที่มีปัญหาการคำนวณควรอนุญาตให้ใช้เครื่องคิดเลข ส่วนเด็กที่มีปัญหาการอ่านก็ใช้เครื่องอัดเทปมาช่วย เด็กที่สับสนเกี่ยวกับตัวอักษรก็ควรฝึกโดยใช้ตัวอักษรพลาสติกให้เด็กจับต้อง เพื่อให้เรียนรู้ทางการสัมผัสด้วย เป็นต้น
     แก้ไขอาการสมาธิไม่ดีหรือโรค ADHD ที่มีร่วมด้วย

แก้ไขปัญหาทางอารมณ์
     รักษาปัญหาทางอารมณ์ที่เกิดร่วมค้วยเช่นโรคซึมเศร้าหรือวิตกกังวล
     ช่วยให้เด็กมีความนับถือตนเอง (Self-esteem)
     แก้ไขความสัมพันธ์ในครอบครัว ครอบครัวของเด็กที่มีความตึงเครียดเนื่องมาจากการเรียนของเด็กและพ่อแม่มักไม่เข้าใจปัญหาที่เด็กมี การอธิบายพ่อแม่ให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องและเปลี่ยนทัศนคติจากการตำหนิเด็กมาเป็นการช่วยเหลือเด็กเป็นสิ่งสำคัญ
 การรักษาด้วยยา
Ritalin
Dexedrine
Cylert
 หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ ( ส.ศ.ศ )
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
ศูนย์การศึกษาพิเศษ ( Early Intervention: EI )
โรงเรียนเฉพาะความพิการ
สถาบันราชานุกูล
กิจกรรมต่อมาคือ อาจารย์ให้นักศึกษาดูวิดีทัศน์เรื่อง เรียนอย่างไรในการศึกษาพิเศษ


สรุปความรู้ที่ได้จากการชมวิดีทัศน์
การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการโดยศูนย์การศึกษาพิเศษยึดหลักที่สอดคล้องกับอุดมการณ์การจัดการศึกษา ดังนี้
1.พัฒนาผู้เรียนอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา ความรู้ 
และคุณธรรม มีพัฒนาการเต็มศักยภาพ พึ่งตนเองได้ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ใฝ่รู้ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ที่พอเพียงต่อการพัฒนางานอาชีพและคุณภาพชีวิตส่วนตน
2.ศูนย์การศึกษาพิเศษเป็นสถานศึกษาของรัฐที่จัด การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัยแก่ คนพิการ
ตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการจนตลอดชีวิต 
3.บริการและความช่วยเหลืออื่นใด ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่ตามที่ก าหนดในกฎกระทรวง โดยให้คนพิการมีสิทธิ ทางการศึกษา ระบบและรูปแบบการศึกษาค านึงถึงความสามารถ ความสนใจ ความถนัด และความต้องการจ าเป็นพิเศษของแต่ละบุคคล
สะท้อนการเรียน
  จากที่ได้ดูวิดีทัศน์แล้วทำให้ดิฉันทราบถึง วิธีการดูแลเด็กที่บกพร่องทางการเรียน การบำบัด การดูแล การส่งเสริมพัฒนาการที่ถูกต้องและเหมาะสม รู้ถึงวิธีการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมให้กับเด้กที่บกพร่องทางการเรียนว่าควรจัดอย่างไร
การนำไปประยุกย์ใช้
   ความรู้ที่ได้นี้นำไปใช้เมื่อดิฉันได้มีโอกาสเจอหรือสอนเด็กประเภทนี้


การบันทึกประจำวัน

ประจำวันที่ 6/2/2557 คาบที่ 14
กิจกรรม

งดการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์พานักศึกษาชั้นปีที่ 4 ไปเข้าค่ายที่โรงเรียนบ้านถ้ำผึ้ง 
จังหวัดสุราษณ์ธานี


การบันทึกประจำวัน

ประจำวันที่ 30/1/2557 คาบที่ 13
กิจกรรม
การดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
Down' syndrome
-รักษาตามอาการ
-แก้ไขความผิดปกติที่ผิดร่วมด้วย ยกตัวอย่าง โรคหัวใจ โรคลิ้นหัวใจรั่ว
-ให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด
-เน้นการดูแลแบบองค์รวม ( holistic approach)
1.ด้านสุขภาพอนามัย
บิดามารดาให้พาบุตรไปพบแพทย์ตั้งแต่แรกเริ่ม ติดตามการรักษาเป็นระยะๆ
2.การส่งเสริมพัฒนาการ
เด็กกลุ่มอากาารดาวน์สามารถพัฒนาได้ ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม
3.การดำรงชีวิตประจำวัน
ฝึกการให้ช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด
4.การฟื้นฟูสมรรถภาพ
-การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ เช่น การฝึกพูด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด
-การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาโดยจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล ( IEP )
-การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม เช่น การฝึกทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน
-การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ โดยการฝึกอาชีพ
การเลี้ยงดูในช่วง 3 เดือนแรก
   การนอนของเด็กดาวน์จะต้องให้เด็กนอนตะแคง และขาต้องไขว้กัน มือวางกลางระหว่างอก ควรสลับเปลี่ยนท่าซ้ายขวา
ผู้หญิง ที่เป็นดาวน์ ถ้ามีลูกจะมีโอกาสเป็นดาวน์
ผู้ชาย ที่เป็นดาวน์ 90% จะเป็นหมัน
การปฏิบัติของบิดา มารดา
-ยอมรับความจริง
-เด็กกลุ่มดาวน์มีพัฒนาการเป็นขั้นตอน เช่นเดียวกับเด็กทั่วไป
-ให้ความรักความอบอุ่น
-การตรวจภายใน ตรวจหามะเร็งปากมดลูกและเต้านม
-การคุมกำเนิดและทำหมัน
-การสอนเพศศึกษา
-ตรวจโรคหัวใจ
การส่งเสริมพัฒนาการ
-พัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์และภาษา
-สามารถปรับตัวและช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น
-สังคมยอมรับมากขึ้น ไปเรียนร่วมหรือเรียนรวมได้
-ลกปัญหาพฤติกรรม
-คุณภาพชีวิตดีขึ้น สภาพแก้ปัญหาและทำงานได้ดีขึ้น
Autistic
ส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว
ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการดูแลช่วยเหลือออทิสติก
ส่งเสริมความสามารถของเด็ก
การเสริมสร้างโอกาสให้เด็กได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย ทำกิจกรรมที่หลายหลาย
การปรับพฤติกรรมและฝึกทักษะทางสังคม
เพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
การให้แรงเสริม
การฝึกพูด
โดยเฉพาะในรายที่มีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อความหมายล่าช้า
ถ้าเด็กพูดได้เร็ว โอกาสที่จะมีพัฒนาการทางภาษาใกล้เคียงปกติก็จะเพิ่มมากขึ้น
ลดการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม
ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดจากการไม่สามารถสื่อสารความต้องการได้
การสื่อความหมายทดแทน ( AAC ) เช่น การใช้รูปภาพ PECS
การส่งเสริมพัฒนาการ
ให้เด็กมีพัฒนาการไปตามวัย
เน้นในเรื่องการมองหน้า สบตา การมีสมาธิ การฟัง และทำตามคำสั่ง
ส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นที่ล่าช้าควบคู่กับการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร สังคม และการปรับพฤติกรรม
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
โรงเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน=มีเฉพาะเด็กปกติที่เรียนร่วมกับเด็กAutistic
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
ทักษะในชีวิตประจำวัน และการฝึกฝนทักษะทางสังคม
ให้เด็กสามารถทำได้ด้วยตนเองเต็มความสามารถ โดยต้องการความช่วยเหลือน้อยที่สุด
การรักษาด้วยยา
Methylphenidate ( Ritalin ) ช่วยลดอาการไม่นิ่ง/ซน/หุนหันพลันแล่น/ขาดสมาธิ
Risperidone/ Haloperidol ช่วยลดอาการอยู่ไม่นิ่ง หงุดหงิด หุนหันพลันแล่น พฤติซ้ำๆพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
ยาในกลุ่ม Anticonvulsant ( ยากันชัก ) ใช้ได้ผลในรายที่มีพฤติกรรมทำร้ายตนเอง
การบำบัดทางเลือก
การสื่อความหมายทดแทน  AAC
ศิลปกรรมบำบัด   Art Therapy
ดนตรีบำบัด   Music Therapy
การฝังเข็ม   Acupuncture
การบำบัดด้วยสัตว์   Animal Therapy
พ่อแม่
ลูกต้องพัฒนาได้
เรารักลูกของเรา ไม่ว่าเขาจะเป็นอย่่างไร
ถ้าเราไม่รักลูก แล้วใครจะรัก
หยุดไม่ได้
ดูแลจิตใจและร่างกายของตนเองให้เข้มแข็ง
ไม่กล่าวโทษตนเองและคู่สมรส
ควรหันหน้าปรึกษากับครอบครัว
สรุปความรู้เป็นmine map ได้ดังนี้

การบันทึกประจำวัน

ประจำวันที่ 12/1/2557 คาบที่ 12
กิจกรรม

งดกิจกรรมการเรียนการสอนเนื่องจากสภาพปัญหาทางการเมือง

การบันทึกประจำวัน

ประจำวันที่ 16/1/2557 คาบที่ 11
กิจกรรม


งดกิจกรรมการเรียนการสอนเนื่องจากสภาพปัญหาทางการเมือง

แต่อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาไปสรุปงานวิจัยที่เกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษซึ่งมีหัวข้อดังต่อไปนี้

1.ชื่องานวิจัย/ชื่อผู้วิจัย/มหาวิทยาลัย
2.ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย
3.วัตถุประสงค์ของการวิจัย
4.ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
5.นิยามศัพท์เฉพาะ
6.ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
7.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
8.การดำเนินการวิจัย
9.สรุปผลการวิจัย
10.ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่องานวิจัย

วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การบันทึกประจำวัน

ประจำวันที่ 9/1/2557 คาบที่ 10
กิจกรรม
อาจารย์ให้นักศึกษาทดสอบ Gesell Drawing Test
วิธีการ
ให้เด็กดูแบบแล้ววาด (ควรขยายขนาดเพิ่มให้จากรูปที่แนบมา)โดยที่เราไม่ได้วาดให้ดูเด็กสามารถวาดซ้ำได้ในแต่ละรูปให้ผ่านถ้ารูปที่วาด สมบูรณ์ใกล้เคียงกับรูปต้นแบบ

ความสามารถด้านกล้ามเนื้อมือ และการประสานงานของตากับมือ เป็นทักษะที่บ่งชี้ถึงระดับสติปัญญาหรืออายุสมองได้แบบคร่าวๆ

ยกตัวอย่าง...หากเด็กของเราอายุจริง 8 ปี แต่สามารถวาดรูปได้ถึงรูปที่ 7 โดยที่รูปที่ 8 เป็นต้นไปวาดไม่ได้หรือไม่สมบูรณ์ แสดงว่าอายุสมองของเด็กอยู่ที่ระดับ 7 ปี เป็นต้น

หมายเหตุ..
การทดสอบนี้เป็นวิธีคัดกรองแบบหยาบๆเท่านั้น ไม่ได้บอกระดับ IQ ที่แท้จริง
ถ้าเด็กทำไม่ได้ก็ไม่ต้องตกใจ

แต่ลองฝึกฝนเด็กเรื่องกล้ามเนื้อมือให้มากขึ้น
หรือถ้าเด็กมีปัญหาการเรียนหรือพัฒนาการร่วมด้วย ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ


แนวทางในการดูแลรักษา
-หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่อง
-การตรวจหาความผิดปกติร่วม
-การรักษาสาเหตุโดยตรง
-การส่งเสริมพัฒนาการ
-ให้คำปรึกษากับครอบครัว
** ขั้นตอนในการดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษ **
1.การตรวจคัดกรองพัฒนาการ
2.การตรวจประเมินพัฒนาการ
3.การให้การวินิจฉัยและหาสาเหตุ
4.การให้การรักษาและส่งเสริมพัฒนาการ
5.การติดตามและประเมินผลการรักษาเป็นระยะ



การบันทึกประจำวัน

ประจำวันที่ 2/1/2557 คาบที่ 9
กิจกรรม

งดการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันหยุดชดเชยวันปีใหม่



ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่ 

          ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน
          การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก
          การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์
          ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป
          เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ
          1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
          2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
          3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
          4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย

          กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่
          1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
          2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
          3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ

          วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น


การทำบุญในวันขึ้นปีใหม่ 
          เมื่อใกล้ถึงเทศกาลปีใหม่ ประชาชนจะพากันเก็บกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับไฟและธงชาติตามสถานที่สำคัญ ๆ
          ครั้นถึงวันที่ 31 ธันวาคม ก็จะมีการทำบุญเลี้ยงพระ ไปวัด เพื่อประกอบกิจกุศลต่าง ๆ เช่น ฟังพระธรรมเทศนา ถือศีลปฏิบัติธรรม แต่บางคนก็แค่ทำบุญตักบาตร   ตอนกลางคืนบางแห่งอาจจัดเทศกาลกินเลี้ยงเป็นที่ครื้นเครงสนุกสนาน  เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
          เช้าวันที่ 1 มกราคม จะมีการทำบุญตักบาตร ไปท่องเที่ยวหรือเยี่ยมเยียนญาติผู้ใหญ่ผู้ที่เคารพนับถือ มีการมอบของขวัญและบัตรอวยพรให้แก่กัน
          สำหรับในต่างจังหวัด จะมีการทำบุญเลี้ยงพระที่วัด และอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ญาติที่ล่วงลับ กลางคืนมีการละเล่นพื้นบ้านหรือจัดมหรสพมาฉลอง

คติข้อคิดในวันขึ้นปีใหม่ 
          เมื่อวันเวลาผันเปลี่ยนเวียนไปครบ 1 ปี เราได้อยู่รอดปลอดภัยมาจนถึงวันขึ้นปีใหม่ ขอให้ลองมองย้อนหลังกลับไปคิดดูว่า วันเวลาที่ผ่านมานั้นเราได้ใช้มันอย่างคุ้มค่าหรือเปล่า และได้กระทำคุณงามความดีอันใดไว้บ้าง และควรหาโอกาสกระทำให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นทุกปี ในขณะเดียวกันเราได้กระทำความผิดหรือสิ่งใดที่ไม่ถูกต้องไว้หรือไม่ หากมีต้องรีบปรับปรุงแก้ไขตัวเอง

กิจกรรมที่ควรปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ 
          1. เก็บกวาดดูแลทำความสะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน
          2. ทำบุญตักบาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติและผู้มีพระคุณที่ล่วงลับไปแล้ว
          3. ไปวัดเพื่อทำบุญ ถือศีล ปฏิบัติธรรม หรือฟังพระธรรมเทศนา ฯลฯ เพื่อให้จิตใจสดชื่นแจ่มใสเบิกบาน ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่
          4. ตรวจสอบตัวเอง เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ที่ได้ทำมาตลอดปี ว่ามีความเจริญก้าวหน้าสำเร็จลุล่วงไปได้แค่ไหน หากมีคั่งค้างก็ต้องเร่งขวนขวายปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของตน ถ้าอยู่ในเกณฑ์ดีก็ให้ตั้งใจทำให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป
          5. หากมีเรื่องบาดหมางหรือขุ่นเคืองกับผู้ใด ในวันนี้ควรถือโอกาสให้อภัยซึ่งกันและกัน เริ่มสานความสัมพันธ์ให้กลับมาเริ่มต้นใหม่ด้วยดี

หลากหลายความเชื่อวันปีใหม่ 
          ในทุกเทศกาลปีใหม่ที่เวียนมาถึงประชาชนหลากหลายเชื้าติต่างมีความเชื่อแตกต่างกันไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆในวันสำคัญวันนี้
          ชาวโรมันและชาวเยอรมันโบราณ ถือว่าวันขึ้นปีใหม่เป็นเวลาที่พวกเขาได้สลัดปีเก่าทิ้งไปแล้วรับเอาแต่สิ่งดีๆ ที่จะบังเกิดขึ้นในวันปีใหม่ไว้แทนที่ ส่วนชาวอิหร่าน มีความเชื่อว่าวันปีใหม่เป็นเวลาแห่งหารเกิดของสรรพสิ่งทั้งหลาย เป็นสมัยแห่งการฉลองชัยของสุริยเทพ ธรรมชาติ รวมไปถึงมวลมนุษยชาติ
          ชาวซูลู (ในทวีปแอฟริกา) ต่างก็มีประเพณีเกี่ยวกับวันปีใหม่นี้เช่นกัน ซึ่งเมื่อถึงวันนี้พวกเขาจะกินผลไม้ที่ออกผลเป็นครั้งแรก และพวกผู้ชายจะกลืนกินเนื้อวัวสดๆ ซึ่งเป็นเครื่องแสดงถึงความแข็งแรงและอุดมสมบูรณ์ในระหว่างปีที่จะมาถึง ขณะที่ชาวอังกฤษโบราณ เมื่อวันนี้มาถึงต่างก็พร้อมใจกันทำความสะอาดปล่องไฟเตรียมไว้ต้อนรับโชคลาภที่จะมาถึงในวันปีใหม่ โดยมีความเชื่อว่าจะลงมาทางปล่องไฟและจะคงอยู่ที่นั่นตลอดปี
          นอกจากนั้น ชาวญี่ปุ่นและชาวอินเดียนแดง ยังมีความเชื่อคล้ายๆกันอีกว่า จะเอาเสื้อผ้าเก่าๆไปทิ้งและจะสวมเสื้อผ้าชุดใหม่ อีกทั้งทำความสะอาดบ้านเรือน เพื่อเป็นสิริมงคล ส่วนชาวลาตินอเมริกาจะไม่นิยมให้นาฬิกาเป็นของขวัญ เพราะหลีกเลี่ยงของขวัญที่เกี่ยวพันกับเลข 13 เป็นต้น
          สำหรับวันปีใหม่ของไทย มีความเชื่อมากมายและไม่ว่าจะเป็นการคิดถึงสิ่งดีๆ ทำสิ่งดีๆห้ามให้ของมีคมแก่กัน เพราะเชื่อว่าอาจเป็นลางร้ายก่อให้เกิดเรื่องไม่ดีขึ้นได้ หรือแม้แต่ห้ามพูดจาหยาบคาย หรือด่าทอกันในวันนี้