การเรียนร่วมของเด็กพิเศษ

การเรียนร่วมของเด็กพิเศษ

วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

การบันทึกประจำวัน

ประจำวันที่ 13/2/2557 คาบที่ 15
กิจกรรม
ภาวะการเรียนบกพร่อง (Learning Disorders – LD)
การช่วยเหลือเด็กที่เป็นแอลดี (LD)
สิ่งสำคัญในการช่วยเหลือเด็กมีสามประการคือ
    การแก้ไขความบกพร่องในกระบวนการเรียนรู้
    การแก้ไขปัญหาทางอารมณ์
    ส่งเสริมจุดแข็งหรือความสามารถอื่นๆของเด็ก
วิธีการช่วยเหลือเด็ก LD
     สอนเสริม ควรจัดให้เด็กเรียนในชั้นเล็กๆ หรือมีห้องพิเศษที่จัดไว้สอนเด็กที่มีปัญหาคล้ายๆกัน หรือให้มีการเรียนตัวต่อตัว ที่เรียกว่า resource room  
     สอนไปตามขั้นตอนเท่าที่เด็กรับได้ ไม่ควรเร่ง และจะต้องให้เหมาะกับเด็กเป็นรายๆไป เขียนแผนการเรียนรายบุคคล (Individualized Educational Plan-IEP)
     สอนซ้ำๆจนเด็กสามารถก้าวหน้าทีละขั้น เน้นไปในสิ่งที่เด็กทำได้ ให้กำลังใจและชมเชยเมื่อเด็กก้าวหน้าขึ้น
     สอนเด็กในช่องทาง (channel) ที่เด็กรับได้ เช่น หากเด็กมีปัญหาในด้านการรับเสียงแต่การรับภาพปกติ ก็สอนโดยใช้ภาพ เช่น ให้ดูรูปมากขึ้น หากเด็กมีปัญหาในการรับภาพ ก็สอนโดยใช้เสียงมากขึ้น เช่น เด็กที่อ่านหนังสือไม่ได้ พ่อแม่ก็อ่านหนังสือให้ฟัง เป็นต้น
     ใช้วิธีเรียนรู้หลายรูปแบบ (multimodal technique) ตามช่องทางที่เด็กเรียนรู้ได้ เช่น เด็กที่อ่านไม่คล่อง พ่อแม่อาจอ่านหนังสือแล้วอัดเทปไว้ให้เด็กมาเปิดฟัง ถ้าเด็กอ่านข้อสอบไม่ได้ อาจต้องขอให้คุณครูอ่านข้อสอบให้เด็กฟังเป็นพิเศษ
     ใช้เครื่องมือต่างๆเข้ามาช่วยเด็ก เช่น เด็กที่มีปัญหาการเขียนอาจใช้เครื่องพิมพ์ดีดหรือเครื่องคอมพิวเตอร์มาช่วย เด็กที่มีปัญหาการคำนวณควรอนุญาตให้ใช้เครื่องคิดเลข ส่วนเด็กที่มีปัญหาการอ่านก็ใช้เครื่องอัดเทปมาช่วย เด็กที่สับสนเกี่ยวกับตัวอักษรก็ควรฝึกโดยใช้ตัวอักษรพลาสติกให้เด็กจับต้อง เพื่อให้เรียนรู้ทางการสัมผัสด้วย เป็นต้น
     แก้ไขอาการสมาธิไม่ดีหรือโรค ADHD ที่มีร่วมด้วย

แก้ไขปัญหาทางอารมณ์
     รักษาปัญหาทางอารมณ์ที่เกิดร่วมค้วยเช่นโรคซึมเศร้าหรือวิตกกังวล
     ช่วยให้เด็กมีความนับถือตนเอง (Self-esteem)
     แก้ไขความสัมพันธ์ในครอบครัว ครอบครัวของเด็กที่มีความตึงเครียดเนื่องมาจากการเรียนของเด็กและพ่อแม่มักไม่เข้าใจปัญหาที่เด็กมี การอธิบายพ่อแม่ให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องและเปลี่ยนทัศนคติจากการตำหนิเด็กมาเป็นการช่วยเหลือเด็กเป็นสิ่งสำคัญ
 การรักษาด้วยยา
Ritalin
Dexedrine
Cylert
 หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ ( ส.ศ.ศ )
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
ศูนย์การศึกษาพิเศษ ( Early Intervention: EI )
โรงเรียนเฉพาะความพิการ
สถาบันราชานุกูล
กิจกรรมต่อมาคือ อาจารย์ให้นักศึกษาดูวิดีทัศน์เรื่อง เรียนอย่างไรในการศึกษาพิเศษ


สรุปความรู้ที่ได้จากการชมวิดีทัศน์
การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการโดยศูนย์การศึกษาพิเศษยึดหลักที่สอดคล้องกับอุดมการณ์การจัดการศึกษา ดังนี้
1.พัฒนาผู้เรียนอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา ความรู้ 
และคุณธรรม มีพัฒนาการเต็มศักยภาพ พึ่งตนเองได้ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ใฝ่รู้ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ที่พอเพียงต่อการพัฒนางานอาชีพและคุณภาพชีวิตส่วนตน
2.ศูนย์การศึกษาพิเศษเป็นสถานศึกษาของรัฐที่จัด การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัยแก่ คนพิการ
ตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการจนตลอดชีวิต 
3.บริการและความช่วยเหลืออื่นใด ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่ตามที่ก าหนดในกฎกระทรวง โดยให้คนพิการมีสิทธิ ทางการศึกษา ระบบและรูปแบบการศึกษาค านึงถึงความสามารถ ความสนใจ ความถนัด และความต้องการจ าเป็นพิเศษของแต่ละบุคคล
สะท้อนการเรียน
  จากที่ได้ดูวิดีทัศน์แล้วทำให้ดิฉันทราบถึง วิธีการดูแลเด็กที่บกพร่องทางการเรียน การบำบัด การดูแล การส่งเสริมพัฒนาการที่ถูกต้องและเหมาะสม รู้ถึงวิธีการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมให้กับเด้กที่บกพร่องทางการเรียนว่าควรจัดอย่างไร
การนำไปประยุกย์ใช้
   ความรู้ที่ได้นี้นำไปใช้เมื่อดิฉันได้มีโอกาสเจอหรือสอนเด็กประเภทนี้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น